วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การละเล่นพื้นบ้านของภาคใต้

สะบ้า



ภาค     ภาคใต้
จังหวัด  ระนอง

อุปกรณ์
ลูกสะบ้า
วิธีการเล่น
วิธีการเล่นสะบ้าเป็นการเล่นของไทยสมัยโบราณ เหตุที่เรียกว่า สะบ้า ก็เพราะนำเอาลูกสะบ้า มาเป็นเครื่องมือในการเล่นลูกสะบ้ามีเปลือกแข็ง มีลักษณะกลม ขนาดสะบ้าเท่าหัวเข่าคน แบนแต่ตรงกลางนูน ล้อได้ดี การเล่นจะต้องมีลูกหนึ่งตั้งไว้ ระยะจากลูกตั้งถึงที่ตั้งกะประมาณ ๖ เมตร ผู้เล่นจะเล่นทีละคนก็ได้ แบ่งออกเป็นสองฝ่าย ผู้เล่นจะต้องเล่นตามมาตราที่กำหนดไว้คือ ตั้งต้นด้วยบทที่ง่ายที่สุดคือ การล้อ เรียกว่า อีล้อคือ ผู้เล่นอยู่ที่เส้นตั้งต้น แล้วล้อลูกสะบ้าให้ไปใกล้กับลูกตั้งที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วรีบตะครุบไว้
ถ้าเกินลูกตั้งไปถือว่าตาย ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งลงมือเล่นแทน แต่ถ้าตะครุบได้ เลื่อนมาตรงลูกตั้งแล้วใช้นิ้วดีดให้ถูกลูกตั้งเรียกว่า ยิง ถ้ายิงไม่ถูก ต้องถือว่าตาย เปลี่ยนให้อีกฝ่ายหนึ่งเล่น ถ้าถูกก็ขึ้นบทต่อไปคือ เอาลูกสะบ้าไว้ที่คอแล้วดีดให้ล้อ ใช้วิธีเดียวกัน ถ้าใครยิงถูกเป้าหมายก็ได้ขึ้นบทต่อๆไป ถ้าผิดหรือลูกสะบ้าออกแนวนอกวง ก็ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งเล่นต่อไป ถ้าเป็นการเล่นหมู่ ผู้ที่ยิงถูกอาจไถ่ผู้ที่ยิงไม่ถูกได้คือ ยิงแทนผู้ที่ยิงไม่ถูก เป็นการช่วยผู้ที่เล่นร่วมชุด แต่ถ้าใครล้อเลยเขตเรียกว่าเน่า ก็ต้องตายทั้งชุดคือต้องยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งเล่นต่อเป็นการฝึกการรวมหมู่พวก ได้ดี

  • โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การเล่นสะบ้าของจังหวัดระนอง นิยมเล่นในงานเทศกาลเช่น ในวันตรุษสงกรานต์ วันปีใหม่ งานเดือนสิบ ตรุษจีนจังหวัดระนองนิยมเล่นกันที่อำเภอกระบุรี ปัจจุบันมีการเล่นน้อยลงมาก

  • คุณค่า แนวคิด สาระ
๑. ฝึกความแม่นยำในการยิงเป้าหมาย
๒. ฝึกความระมัดระวังและกะระยะไม่ให้เกินขอบเขตที่กำหนด
๓. ฝึกสายตาเป็นอย่างดี


ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

การละเล่นพื้นบ้านของภาคใต้

ประวัติความเป็นมา
            ซัดต้มเป็นกีฬาพื้นเมืองชนิดหนึ่งของภาคใต้ เล่นกันทั่วไปในจังหวัดต่างๆ เช่นพัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา เป็นต้น กีฬาซัดต้มเป็นกีฬาประเพณีอย่างหนึ่งของชาวภาคใต้ ที่เล่นกันในวันชักพระหรือลากพระ เป็นการเล่นประลองกำลังหรือประลองฝีมือในหมู่ชายหนุ่ม มักจะเล่นกันในเวลาบ่ายตอนชักพระทางบกกลับวัดระหว่างทางก็จะหยุดพักเป็นช่วงๆ แล้วแข่งขันซัดต้มกันเป็นคู่ๆ
                              
                               
                                
       เชื่อกันว่าการเล่นซัดต้มในงานชักพระเป็นการร่วมบุญอย่างหนึ่ง สามารถนำต้มไปให้เพื่อแสดงความคารวะผู้เฒ่าที่นับถือ แล้วเอาต้มไปแขวนที่เรือพระ เสมือนหนึ่งมอบไว้เป็นเสบียงเดินทางของคณะแห่เรือพระ   โดยอุปมาเหมือนทำบุญไปสู่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วให้ได้กุศล
                    
                  
               
           
การทำต้ม
        ต้ม  หรือข้าวต้มลูกโยน  เป็นอาหารพื้นเมืองของภาคใต้ชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวห่อใบกระพ้อ มีขั้นตอนดังนี้
            -ขั้นแรกรีดใบกระพ้อ นำใบกระพ้อ เอาเฉพาะยอดอ่อน เอามารีดให้แผ่เป็นแผ่นแล้วพับไปพับมาให้เป็นรูปสามเหลี่ยม ใช้ก้านใบม้วนพันสอดกันเพื่อไม่ให้คืนตัว เรียกว่าการรีดใบกระพ้อ
            -ขั้นผัดต้ม เอาข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียวขาว หรือข้าวเหนียวแดงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่ชอบล้างน้ำให้สะอาด สงน้ำให้แห้ง เอาข้าวเหนียวลงผัดกันน้ำกะทิในกระทะในน้ำกะทิให้ใส่เกลือเล็กน้อยถ้าชอบหวานก็ใส่น้ำตาลลงไป บางรายใส่ถั่วแดง ถั่วดำ ลงไปด้วยผัดข้าวเหนียวให้เข้ากับกะทิอย่างดี จนน้ำแห้งข้าวเหนียวจะสุกๆ ดิบ
            -ขั้นห่อต้ม เอาใบกะพ้อที่รีดเตรียมไว้มาแกะออก  แล้วเอาข้าวเหนียวที่ห่อไว้ลงห่อให้เป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายฝักกระจับ ห่อให้แน่นสอดมัดและดึงให้แน่นแล้วจึงตัดโกนก้านใบที่แข็งออก จะได้ขนมรูปสามเหลี่ยมเรียกว่าต้ม
กติกาการแข่งขันต้ม
            เริ่มการแข่งขัน คู่ต่อสู้ทั้งสองฝ่ายอยู่บนเวทีหรือพื้นที่กำหนดให้ห่างกัน 6-8 เมตรหันหน้าเข้าหากันมีลูกต้มวางไว้ข้างหน้าฝ่ายละประมาณ 25-35ลูก มีกรรมการคอยเป็นผู้กำหนด การซัดหรือการปาต้มจะผลัดกันปาคนละครั้ง หรือปาคนละ 3 ครั้ง
                   
                          
                            
คะแนนการขว้างถูกผู้เล่น จะเป็นที่ตกลงกันก่อนการเล่นโดนทั่วไปมักจะนิยมให้คะแนนดังนี้
            -ขว้างถูกคอและศีรษะจะได้  10 คะแนน
            -ขว้างถูกลำตัวส่วนบนจะได้   7 คะแนน
            -ขว้างถูกลำตัวส่วนล่างจะได้  5 คะแนน
            -ขว้างถูกลำตัวแขนขา จะได้  3 คะแนน
ฝ่ายใดได้คะแนนมากกว่าเป็นผู้ชนะ โดยจัดให้มีกรรมการ คอยดูแลและควบคุมการแข่งขัน

การละเล่นพื้นบ้านของภาคใต้



ภาค     ภาคใต้
จังหวัด  ภูเก็ต
  • อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
๑. จำนวนผู้เล่น ๕ คน หรือมากกว่าก็ได้
๒. หลักจำนวน ๔ ต้น
๓. สถานที่นิยมเล่นในที่ร่ม ที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง
วิธีการเล่น
หมาชิงมุม หรือ หมาชิงเสา เป็นการเล่นของเด็ก มีวิธีเล่นคล้ายลิงชิงหลัก คือมีผู้เล่น ๕ คน และมีหลักปักไว้ ๔ ต้น หรืออาจเขียนเครื่องหมายบนพื้น ๔ ทิศ ให้อยู่ห่างกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่เพื่อความสะดวกอาจใช้เสาศาลาพักร้อนหรือเสาของอาคารที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง ก็ได้ ก่อนเริ่มเล่นจะต้องมีการเสี่ยงทายหาผู้เล่นเป็น "หมา"
เริ่มเล่นโดยการให้คนที่เป็น "หมา" ยืนอยู่ตรงกลางของพื้นที่ ๔ เหลี่ยม แล้วคนอื่น ๆ ก็เปลี่ยนที่กันยืน โดยการวิ่งจากมุมเดิมไปอยู่มุมอื่น (มุมไหนก็ได้) เป็นการแลกเปลี่ยนมุมกัน ผู้ที่เล่นเป็นหมาจะต้องแย่งมุมใดมุมหนึ่งซึ่งยังไม่มีใครครอบครอง หากผู้ที่เล่นเป็นหมาแย่งได้ ผู้ที่ไม่มีหลักครอบครองก็จะต้องเล่นเป็นหมาแทน แต่เมื่อผู้เล่นสามารถเปลี่ยนมุมได้คนละ ๕ หรือ ๗ ครั้ง แล้วแต่จะตกลงกัน ถ้าหมาไม่สามารถชิงมุมได้ ผู้เล่นทั้ง ๔ คน ก็จะช่วยกันหามหมาไปทิ้ง (ส่ง) ณ ที่ใดที่หนึ่งซึ่งห่างจากสถานที่เล่นพอสมควร ซึ่งในขณะที่หามอยู่นั้น ทุกคนจะต้องช่วยกันร้องเสียงหมาที่มีอาการเจ็บปวดได้ด้วย เมื่อได้ที่แล้วทุกคน (ทั้ง ๕ คน) ก็จะต้องวิ่งกลับไปชิงมุมที่ทำเอาไว้ หากใครชิงไม่ได้ก็ต้องเล่นเป็นหมาต่อไป เล่นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนเลิก

  • โอกาสหรือเวลาที่เล่น
หมาชิงมุมเป็นการเล่นของเด็ก โดยเล่นในเวลาที่ว่าง ๆ มีอุปกรณ์หรือมีจำนวนมากพอสมควรพร้อมที่จะเล่นได้


  • คุณค่า / แนวคิด / สาระ
๑. หมาชิงมุมเป็นการเล่นของเด็ก ทำให้เกิดความสนุกสนานมีความรักและความสามัคคีในกลุ่มเพื่อน
๒. เป็นการออกกำลังกายที่ดีฝึกความว่องไวอีกอย่างหนึ่งใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
จุ้มจี้ : การเล่นของเด็ก





ภาค     ภาคใต้
จังหวัด  ภูเก็ต
  • อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
๑. จำนวนผู้เล่นตั้งแต่ ๓-๑๐ คน
๒. สถานที่นิยมเล่นในที่ร่ม
วิธีการเล่น
จุ้มจี้ หรือจ้ำจี้ เป็นการเล่นเสี่ยงทายคัดเลือกคนออกไปจากวงโดยการนับและใช้นิ้วชี้ไปยังมือ หรือนิ้วของผู้เล่น จำนวนผู้เล่นตั้งแต่ ๓-๑๐ คน สถานที่เล่นนิยมเล่นในร่ม ก่อนเริ่มเล่นต้องเสี่ยงทายคนจี้เสียก่อน เมื่อได้ตัวคนจี้แล้ว ผู้เล่นทุกคนรวมทั้งผู้จี้ด้วยต้องนั่งล้อมเป็นวงกลม คว่ำฝ่ามือทั้ง ๒ ข้างลงบนพื้นข้างหน้ายกเว้นคนจี้จะคว่ำฝ่ามือลงข้างเดียว อีกข้างหนึ่งจะใช้สำหรับจี้หลังมือทุกมือที่วางอยูในวง โดยเริ่มจี้จากมือของตนเองก่อน ขณะที่จี้ผู้เล่นช่วยกันร้องเพลงประกอบการเล่น ๑ พยางค์ต่อการจี้ ๑ ครั้งหรือ ๑ มือ เมื่อพยางค์สุดท้ายของเพลงตกตรงที่มือไหนมือนั้นจะต้องยกออกจากวง ผู้จี้จะร้องเพลงประกอบและจี้ไปเรื่อยๆจนเหลือผู้เล่นเหลือมืออยู่ในวงคน เดียวและเป็นสุดท้ายก็เป็นผู้ชนะ ถ้าจะเล่นต่อไปผู้ชนะก็จะเป็นผู้จี้แทนคนเดิม
เพลงร้องประกอบการเล่นจุ้มจี้มีมากมายหลายสำนวน อาจผิดเพี้ยนกันไปบ้างเพราะการถ่ายทอดมาหลายๆขั้นจึงทำให้ถ้อยคำอาจแตกต่าง กันไปในจังหวัดภูเก็ต ได้แก่
๑. จุ้มจี้ จุ้มเจ้า จุ้มหมากหัวเน่า จุ้มพลูใบมน คดข้าวใส่ถาด นางนาฏเล่นกล เอาไปสักคน นายเพื่อนเราเอย
๒. จุ้มจี้ จุ้มปุด จุ้มแม่สีพุด จุ้มแม่ลัดดา พุทราเป็นดอก หมากงอกเป็นใบพุ้งพิ้งลงใน ว่ายน้ำฮ่อแฮ่ ฮ่อแฮ่
๓. จุ้มจี้ จุ้มจวด พาลูกไปบวช ถึงวัดถึงวา พอสึกออกมา ตุ๊กตาพุงป่อง ทำท่าไหว้ก็อง พุงป่องตาเหล่ ทำท่าจับเข้ เข้ขบไข่ด้วน
๔. จุ้มจี้ จุ้มปุด จุ้มแม้สีพุด จุ้มแม่ลัดดา พุทราเป็นดอก หมากงอกเป็นใบกุ้งกิ้งลงไป ว่ายน้ำจอแจ แขกเต้าเล่าอ่อน พังพอนเข้าแขก นางชีตาแหก ออกไปสักคน ในเพื่อนเราเอย
๕. จุ้มจี้ จุ้มเป้า จุ้มหมากหัวเน่า จุ้มพลูใบมน คดข้าวใส่ถาด ชักยาดชักยนออกไปสักคน ในเพื่อนเราเอย
๖. จุ้มจี้เม็ดหนุน ใครมีบุญได้กินสำรับ ใครตกอับได้กินหมาเน่า ส้มมะแป้น มะเฟือง มะไฟออกดอก มะกอกออกฝัก ผัวไม่รักไปโทษอีกแป้น อีแป้นนั่งนึกนั่งตรอง ฉีกใบตองมารองอึ่งอ่าง อึ่งอ่างตัวเล็กตัวน้อย ถอยหลังดังเปรี๊ยะ
  • โอกาสหรือเวลาที่เล่น
จุ้มจี้ เป็นการละเล่นของเด็ก โดยเล่นในเวลาที่ว่างๆหรือมีจำนวนผู้เล่นมากพอสมควร พร้อมที่จะเล่นได้


  • คุณค่า/แนวคิด/สาระ
๑. ทำให้เกิดความสนุกสนาน มีความรัก ความสามัคคีในกลุ่มเพื่อน
๒. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

การละเล่นพื้นบ้านของภาคใต้


เป็นการละเล่นของภาคใต้  จังหวัด กระบี่

 


วิธีการเล่น

ผู้เล่นตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้เล่นก่อนหลัง โดยผู้เล่นมีลูกเกยคนละลูก หลังจากนั้นก็ขีดตารางเป็นช่องสี่เหลี่ยมจำนวน 6 ช่อง หรือเรียกว่า 6 เมือง โดยแบ่งเป็นซีกซ้าย 3 เมือง ซีกขวา 3 เมือง

การเริ่มเล่น

ผู้เล่นคนที่ 1 เริ่มเล่นโดยการทอยลูกเกยลงไปในเขตเมืองที่ 1 แล้วกระโดดยืนเท้าเดียวในเมืองที่ 1 หลังจากนั้นใช้ปลายเท้าฉุดลูกเกยให้ผ่านไปในเขตเมืองที่ 2 3 4 5 6 ตามลำดับแล้วก็ฉุดลูกเกยออกจากเขตเมืองที่ 6 ต่อไปผู้เล่นคนเดิม ต้องทอยลูกเกยลงในเมืองที่ 2 แล้วกระโดดยืนเท้าเดียวในเมืองที่ 1 กระโดดต่อไปในเมืองที่ 2

หลังจากนั้นก็เล่นเหมือนเดิมไปเรื่อย ๆ ทุกเมือง จนถึงเมืองที่ 6 เมื่อทอยลูกเกยและฉุดได้ครบทั้ง 6 เมืองแล้วให้ผู้เล่นกระโดดด้วยเท้าข้างเดียวจังหวะเดียวลงบนเมืองที่ 1 ถึง เมืองที่ 6 ตามลำดับ ห้ามกระโดดหลายครั้งมิฉะนั้นถือว่า ตาย ต้องให้คนอื่น ๆ เล่นต่อ ถ้าเล่นครบท่านี้แล้วไม่ตาย ให้เล่นในท่าต่อไป คือ เอาลูกเกยวางบนหลังเท้าแล้วสาวเท้าลงในเมืองทั้ง 6 เมือง ตามลำดับ แต่เท้าหนึ่งลงในเมืองหนึ่งได้เพียงครั้งเดียว เช่น เท้าซ้ายเหยียบลงในเมืองที่ 1 เท้าขวาเหยียบลงในเมืองที่ 2 เท้าซ้ายเหยียบลงในเมืองที่ 3 สลับกันไปเช่นนี้จนกว่าจะครบทุกเมือง ลูกเกยนั้นต้องไม่ตกจากหลังเท้าและเท้านั้นต้องไม่เหยียบเส้น ท่าต่อไปนั้นให้ผู้เล่นปิดตา เดินที่ละก้าวโดยไม่ต้องวางลูกเกยบนหลังเท้าขณะเดินขณะที่ก้าวเท้าลงในแต่ละเมืองผู้เล่นนั้นต้องถามว่า "อู่ บอ" หมายความว่า เหยียบเส้นหรือไม่ ถ้าไม่เหยียบผู้เล่นคนอื่น ๆ จะตอบว่า "บอ" ถ้าเหยียบเส้นตอบว่า "อู่" เมื่อผู้เล่นที่ปิดตาเหยียบเส้นถือว่า ตาย ต้องเปลี่ยนให้คนอื่น ๆ เล่นต่อไป

ถ้าเล่นยังไม่ตายผู้เล่นนั้นมีสิทธิ์ในการจองเมือง โดยผู้เล่นนั้นต้องเดินเฉียงไปแบบสลับฟันปลาไปตามช่องต่าง ๆ ให้ลงเท้าได้เพียงเท้าเดียว เช่น ลงเท้าซ้ายในเมืองที่ ๑ ลงเท้าขวาในเมือ งที่ ๓ และลงเท้าซ้ายในเมืองที่ ๕ แล้วกระโดดสองเท้าลงในหัวกระโหลก กระโดดเท้าพร้อมกับหันหลัง และผู้เล่นก็โยนลูกเกยข้ามศีรษะของตน
เองถ้าลูกเกยไปตกอยู่ในเมืองใดเมืองหนึ่ง เมืองนั้นจะเป็นของผู้เล่นทันที ดังนั้นผู้เล่นมีสิทธิ์ยืนสองเท้าในเมืองนั้นได้ เมื่อได้เมืองแล้วก็ให้เล่นอย่างนั้นต่อไป จนกว่าจะตายจึงจะต้องเปลี่ยนให้ผู้อื่นเล่นต่อ



โอกาสหรือเวลาที่เล่น

ในการเล่นอีฉุดนั้นไม่มีการกำหนดโอกาสและเวลาที่เล่น เพราะสามารถเล่นได้ในทุกโอกาสและการเล่นอีฉุดนั้นเป็นการเล่นของเด็กที่นิยม กันมากในท้องถิ่นจังหวัดกระบี่


คุณค่าและแนวคิด

ในการเล่นอีฉุดนั้นก่อให้เกิดความสามัคคี ความรักความผูกพันธ์กันในหมู่คณะและเป็นการฝึกความสัมพันธ์ของร่างกายในส่วน ต่าง ๆ ทั้ง มือ เท้า และสมอง ได้เป็นอย่างดี

ข้อมูลโดย www.baanmaha.com