วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

จุ้มจี้ : การเล่นของเด็ก





ภาค     ภาคใต้
จังหวัด  ภูเก็ต
  • อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
๑. จำนวนผู้เล่นตั้งแต่ ๓-๑๐ คน
๒. สถานที่นิยมเล่นในที่ร่ม
วิธีการเล่น
จุ้มจี้ หรือจ้ำจี้ เป็นการเล่นเสี่ยงทายคัดเลือกคนออกไปจากวงโดยการนับและใช้นิ้วชี้ไปยังมือ หรือนิ้วของผู้เล่น จำนวนผู้เล่นตั้งแต่ ๓-๑๐ คน สถานที่เล่นนิยมเล่นในร่ม ก่อนเริ่มเล่นต้องเสี่ยงทายคนจี้เสียก่อน เมื่อได้ตัวคนจี้แล้ว ผู้เล่นทุกคนรวมทั้งผู้จี้ด้วยต้องนั่งล้อมเป็นวงกลม คว่ำฝ่ามือทั้ง ๒ ข้างลงบนพื้นข้างหน้ายกเว้นคนจี้จะคว่ำฝ่ามือลงข้างเดียว อีกข้างหนึ่งจะใช้สำหรับจี้หลังมือทุกมือที่วางอยูในวง โดยเริ่มจี้จากมือของตนเองก่อน ขณะที่จี้ผู้เล่นช่วยกันร้องเพลงประกอบการเล่น ๑ พยางค์ต่อการจี้ ๑ ครั้งหรือ ๑ มือ เมื่อพยางค์สุดท้ายของเพลงตกตรงที่มือไหนมือนั้นจะต้องยกออกจากวง ผู้จี้จะร้องเพลงประกอบและจี้ไปเรื่อยๆจนเหลือผู้เล่นเหลือมืออยู่ในวงคน เดียวและเป็นสุดท้ายก็เป็นผู้ชนะ ถ้าจะเล่นต่อไปผู้ชนะก็จะเป็นผู้จี้แทนคนเดิม
เพลงร้องประกอบการเล่นจุ้มจี้มีมากมายหลายสำนวน อาจผิดเพี้ยนกันไปบ้างเพราะการถ่ายทอดมาหลายๆขั้นจึงทำให้ถ้อยคำอาจแตกต่าง กันไปในจังหวัดภูเก็ต ได้แก่
๑. จุ้มจี้ จุ้มเจ้า จุ้มหมากหัวเน่า จุ้มพลูใบมน คดข้าวใส่ถาด นางนาฏเล่นกล เอาไปสักคน นายเพื่อนเราเอย
๒. จุ้มจี้ จุ้มปุด จุ้มแม่สีพุด จุ้มแม่ลัดดา พุทราเป็นดอก หมากงอกเป็นใบพุ้งพิ้งลงใน ว่ายน้ำฮ่อแฮ่ ฮ่อแฮ่
๓. จุ้มจี้ จุ้มจวด พาลูกไปบวช ถึงวัดถึงวา พอสึกออกมา ตุ๊กตาพุงป่อง ทำท่าไหว้ก็อง พุงป่องตาเหล่ ทำท่าจับเข้ เข้ขบไข่ด้วน
๔. จุ้มจี้ จุ้มปุด จุ้มแม้สีพุด จุ้มแม่ลัดดา พุทราเป็นดอก หมากงอกเป็นใบกุ้งกิ้งลงไป ว่ายน้ำจอแจ แขกเต้าเล่าอ่อน พังพอนเข้าแขก นางชีตาแหก ออกไปสักคน ในเพื่อนเราเอย
๕. จุ้มจี้ จุ้มเป้า จุ้มหมากหัวเน่า จุ้มพลูใบมน คดข้าวใส่ถาด ชักยาดชักยนออกไปสักคน ในเพื่อนเราเอย
๖. จุ้มจี้เม็ดหนุน ใครมีบุญได้กินสำรับ ใครตกอับได้กินหมาเน่า ส้มมะแป้น มะเฟือง มะไฟออกดอก มะกอกออกฝัก ผัวไม่รักไปโทษอีกแป้น อีแป้นนั่งนึกนั่งตรอง ฉีกใบตองมารองอึ่งอ่าง อึ่งอ่างตัวเล็กตัวน้อย ถอยหลังดังเปรี๊ยะ
  • โอกาสหรือเวลาที่เล่น
จุ้มจี้ เป็นการละเล่นของเด็ก โดยเล่นในเวลาที่ว่างๆหรือมีจำนวนผู้เล่นมากพอสมควร พร้อมที่จะเล่นได้


  • คุณค่า/แนวคิด/สาระ
๑. ทำให้เกิดความสนุกสนาน มีความรัก ความสามัคคีในกลุ่มเพื่อน
๒. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น